ผู้จัดทำรายงานประจำปี

ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา หัวหน้าฝ่ายเลขานุการ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ หัวหน้าฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ นางสาวจุฑารัตน์ มาลาวิลาศ นางสาววิภาดา ดวงคิด นางสาวพิชญา สาจันทร์ นางสาวไผททิพย์ ทับทอง นางสาวตรีสลา ฟูแว่น นายรักเผ่า เทพปัน นางสาวเสาวณี กันทา นางจิณณ์ณณัช ใจหลัก

สถิติการใช้ทรัพยากร

<< กิจกรรมส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบปริมาณการใช้ทรัพยากร ประจำปีงบประมาณ 2563 – 2564 << กิจกรรมส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม

การดำเนินงานด้านงานจดหมายเหตุ

<< งานจดหมายเหตุและหอประวัติมหาวิทยาลัย งานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุ วัตถุจดหมายเหตุ เพื่อประเมินคุณค่า คัดเลือก จัดเก็บลงในฐานข้อมูลและให้บริการ ตลอดจนบันทึกเหตุการณ์สำคัญของมหาวิทยาลัย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานจดหมายเหตุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้ การบันทึกเหตุการณ์ มีการบันทึกเหตุการณ์และกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย จำนวน 9 เรื่อง ลิงก์เข้าชม https://archives.mfu.ac.th/ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ศูนย์บรรณสารฯ มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการรับรู้และภาคภูมิใจในความเป็นแม่ฟ้าหลวง ดังนี้ 1. การประชาสัมพันธ์ “วันนี้ในอดีต” ใน Facebook MFU Library https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2531376920239503&type=3 2. การประชาสัมพันธ์ “แนะนำสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย” ในรูปแบบ eBook โดยทำการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูล eBook ของงานจดหมายเหตุ และประชาสัมพันธ์ในส่วนของ “Recommend แนะนำสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย” 3. การจัดทำ QR Code โดยจัดทำ QR Code เพื่อแสดงเรื่องราว/ข้อมูลที่เผยแพร่ไว้บนช่อง Youtube ของงานจดหมายเหตุContinue reading “การดำเนินงานด้านงานจดหมายเหตุ”

การพัฒนาบุคลากร

<< การพัฒนาบุคลากร ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีนโยบายพัฒนาบุคลากรทุกระดับเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรมีโอกาสเข้าร่วมอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ในปีงปบระมาณพ.ศ. 2564 บุคลากร จำนวน 32 คน เข้ารับการอบรม สัมมนา และศึกษาดูงานในรูปแบบออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้ศูนย์บรรณสารฯ ได้นำความรู้จากการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานมาพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมการให้บริการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ผลงาน ประกอบด้วย การพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ ระบบออนไลน์งานแสดงหนังสือ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : ความปกติในรูปแบบใหม่  วันนี้ในอดีต: ความทรงจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงบนสื่อเฟซบุ๊ก  Netflix by MFU Library  การพัฒนาระบบบริหารจัดการพัสดุสำนักงาน เพื่อสำนักงานไร้กระดาษ  โดยผลงานดังกล่าว ศูนย์บรรณสารฯ ได้นำแสดงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม 2564 ทั้งนี้ศูนย์บรรณสารฯ ได้รับรางวัลชมเชย จากผลงาน เรื่อง Continue reading “การพัฒนาบุคลากร”

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่างๆ ทั้งในส่วนของการให้บริการและการปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ ดังนี้ ระบบ MFU Library Bookshop   ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยงดการเรียนการสอนในรูปแบบ Onsite ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวและจัดในรูปแบบออนไลน์  ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ จึงได้จัดงานมหกรรมหนังสือในรูปแบบออนไลน์เป็นปีแรก โดยได้พัฒนาระบบ MFU Library Bookshop เพื่อให้ร้านค้าและสำนักพิมพ์ต่างๆ จัดแสดงหนังสือในรูปแบบ e-Shelf จำแนกตามสำนักวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและจัดหาหนังสือ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนและการค้นคว้า https://libraryapp.mfu.ac.th/acq/bookshop/ แอปพลิเคชันสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ จากพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดที่มีการวางสัมภาระส่วนตัวทิ้งไว้ยังที่นั่งอ่านและออกจากห้องสมุดไปเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ผู้ใช้อื่นไม่สามารถใช้ที่นั่งนั้นได้ เพื่อให้สามารถจัดบริการที่นั่งอ่านหนังสือในพื้นที่ห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์บรรณสารฯ จึงพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสำรองที่นั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด (Ready Seat Ready) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ โดยสแกนคิวอาร์โค้ดรหัสที่นั่งที่ติดไว้ยังที่นั่งอ่านหนังสือแต่ละที่ ผู้ใช้บริการจะสามารถสำรองที่นั่งอ่านหนังสือของตนเอง ได้ตามช่วงเวลาที่ศูนย์บรรณสารฯ กำหนด  ทั้งนี้ การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสำรองที่นั่งอ่านหนังสือดังกล่าว จึงเป็นการสร้างกติกาและข้อตกลงร่วมกันในการใช้บริการห้องสมุดอย่างเป็นระเบียบ ลดปัญหาข้อพิพาทขัดแย้งContinue reading “การพัฒนาระบบสารสนเทศ”

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ ตลอดจนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน  ประกอบไปด้วย ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เมื่อแรกเริ่มดำเนินงาน ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS  (Virginia Tech Library System)  มาใช้ในการบริหารจัดการ และการให้บริการสืบค้นและยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ต่อมาในปีพ.ศ. 2562 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ปรับเปลี่ยนระบบห้องสมุด จาก VTLS เป็นระบบห้องสมุด KOHA เวอร์ชัน 16.15   ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) ที่สามารถนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้เทียบเท่ากับโปรแกรมระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์ มีความสามารถหลายด้าน อำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลระบบมีอิสระในการแก้ไขฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นหรือตรงกับลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้   เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง   (Self Check out) ในปีพ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง (Self Checkout) ทดแทนเครื่องเดิมที่ชำรุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือที่ต้องการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ให้บริการ ประตูควบคุมทางเข้าอัตโนมัติ (Access Control)  ศูนย์บรรณสารฯContinue reading “ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ”

การบริการวิชาการ

<< การบริการวิชาการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดโครงการบริการวิชาการ โดยการจัดอบรมเรื่อง “หลักการจัดหมวดหมู่หนังสือห้องสมุดโรงเรียน” ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม  Zoom Meeting เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 โดยรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องสมุด มีความรู้ความเข้าใจหลักการจัดระบบหมวดหมู่หนังสืออย่างถูกต้อง และสามารถนำความรู้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดระบบห้องสมุด และเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และห้องสมุดในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยและในจังหวัดเชียงราย โดยมีครูและเจ้าหน้าที่ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ เข้าร่วมอบรม จำนวน 54 คน และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมอบรมในภาพรวมระดับดีมาก (4.74) < การบริการวิชาการ

การให้บริการของศูนย์บรรณสารฯ

ด้วยในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้นคว้า และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศประกอบการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดให้บริการต่างๆ ดังนี้ 1. บริการ MFU library Delivery โดยการเชื่อมโยงระบบจัดส่งหนังสือเข้ากับระบบสืบค้น (OPAC) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือและจัดส่งหนังสือดังกล่าวไปยังผู้ใช้บริการ โดยสามารถเลือกให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดส่งทางไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่ง กรณีอยู่ต่างจังหวัด หรือต่างอำเภอในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  หรือสามารถให้จัดส่งที่สำนักวิชา หรือมารับตัวเล่มด้วยตนเองที่ห้องสมุด  ทั้งนี้ บริการ MFU Library Delivery ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2564 เป็นต้นมา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2564) มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 974 ครั้ง จำนวนหนังสือที่ให้บริการ จำนวน 2,396 เล่ม 2. จัดทำเว็บไซต์ Continue reading “การให้บริการของศูนย์บรรณสารฯ”

สิ่งอำนวยความสะดวก

<< สิ่งอำนวยความสะดวก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ดังนี้ 1. ติดตั้ง MFU Connect Wifi อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง  ครอบคลุมพื้นที่อาคารห้องสมุดทุกชั้น โดยศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. อับเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 48 เครื่อง เพื่อรองรับการเรียนออนไลน์ และการสืบค้นข้อมูล  3. จัดหาเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ (Self Checkout) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือได้ด้วยตนเอง 4. จัดหาเครื่องฟอกอากาศ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อติดตั้งเพิ่มเติมพื้นที่เรียนรู้ (M-Learning Space)  5. จัดหาตู้กดน้ำร้อน-เย็น จำนวน 2 ตู้ เพื่อติดตั้งเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่เรียนรู้ (M-Learning Space) และพื้นที่โซนสบาย (Living & Learning Zone)  6. บริการตู้กดเครื่องดื่มและขนม บริเวณพื้นที่เรียนรู้ (M-Learning Space) โดยการประสานของสำนักงานทรัพย์สินและรายได้ของมหาวิทยาลัย 7.Continue reading “สิ่งอำนวยความสะดวก”

ทรัพยากรสารสนเทศ

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้จัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ ปัจจุบันศูนย์บรรณสารฯ มีทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด จำแนกได้ดังนี้ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ จำนวน  1. หนังสือ (Print) รวม 186,976 เล่ม – ภาษาไทย 91,136 เล่ม – ภาษาอังกฤษ 70,288 เล่ม – ภาษาจีน 25,552 เล่ม 2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) รวม 334 รายชื่อ – ภาษาไทย 129 รายชื่อ – ภาษาอังกฤษ 170 รายชื่อ – ภาษาจีน 35 รายชื่อ 3. วารสาร รวม 350 รายชื่อ – ภาษาไทย 168 รายชื่อ – ภาษาต่างประเทศ 182Continue reading “ทรัพยากรสารสนเทศ”