การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่างๆ ทั้งในส่วนของการให้บริการและการปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ ดังนี้ ระบบ MFU Library Bookshop   ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยงดการเรียนการสอนในรูปแบบ Onsite ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวและจัดในรูปแบบออนไลน์  ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ จึงได้จัดงานมหกรรมหนังสือในรูปแบบออนไลน์เป็นปีแรก โดยได้พัฒนาระบบ MFU Library Bookshop เพื่อให้ร้านค้าและสำนักพิมพ์ต่างๆ จัดแสดงหนังสือในรูปแบบ e-Shelf จำแนกตามสำนักวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและจัดหาหนังสือ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนและการค้นคว้า https://libraryapp.mfu.ac.th/acq/bookshop/ แอปพลิเคชันสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ จากพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดที่มีการวางสัมภาระส่วนตัวทิ้งไว้ยังที่นั่งอ่านและออกจากห้องสมุดไปเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ผู้ใช้อื่นไม่สามารถใช้ที่นั่งนั้นได้ เพื่อให้สามารถจัดบริการที่นั่งอ่านหนังสือในพื้นที่ห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์บรรณสารฯ จึงพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสำรองที่นั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด (Ready Seat Ready) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ โดยสแกนคิวอาร์โค้ดรหัสที่นั่งที่ติดไว้ยังที่นั่งอ่านหนังสือแต่ละที่ ผู้ใช้บริการจะสามารถสำรองที่นั่งอ่านหนังสือของตนเอง ได้ตามช่วงเวลาที่ศูนย์บรรณสารฯ กำหนด  ทั้งนี้ การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสำรองที่นั่งอ่านหนังสือดังกล่าว จึงเป็นการสร้างกติกาและข้อตกลงร่วมกันในการใช้บริการห้องสมุดอย่างเป็นระเบียบ ลดปัญหาข้อพิพาทขัดแย้งContinue reading “การพัฒนาระบบสารสนเทศ”

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ ตลอดจนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน  ประกอบไปด้วย ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เมื่อแรกเริ่มดำเนินงาน ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS  (Virginia Tech Library System)  มาใช้ในการบริหารจัดการ และการให้บริการสืบค้นและยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ต่อมาในปีพ.ศ. 2562 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ปรับเปลี่ยนระบบห้องสมุด จาก VTLS เป็นระบบห้องสมุด KOHA เวอร์ชัน 16.15   ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) ที่สามารถนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้เทียบเท่ากับโปรแกรมระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์ มีความสามารถหลายด้าน อำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลระบบมีอิสระในการแก้ไขฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นหรือตรงกับลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้   เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง   (Self Check out) ในปีพ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง (Self Checkout) ทดแทนเครื่องเดิมที่ชำรุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือที่ต้องการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ให้บริการ ประตูควบคุมทางเข้าอัตโนมัติ (Access Control)  ศูนย์บรรณสารฯContinue reading “ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ”