ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

กระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง กระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ในอดีตที่ผ่านมาฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ ได้รับวิทยานิพนธ์ (ฉบับรูปเล่ม และ CD ประกอบ) จากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อมาดำเนินงานการวิเคราะห์และจัดระบบงานวิจัย วิทยานิพนธ์เพื่อให้บริการในลำดับต่อไป แต่ปัจจุบันสำนักงานบัณฑิตศึกษา ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดส่งวิทยานิพนธ์เป็นรูปแบบ Electronic File จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดเก็บและให้บริการวิทยานิพนธ์ของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เปลี่ยนแปลงไป ทำให้บุคลากรภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาที่ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ จึงได้สรุปกระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการวิทยานิพนธ์ของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ตั้งแต่รับเรื่องจนถึงการให้บริการ ตลอดจนการแก้ปัญหาเบื้องต้น และถ่ายทอดความรู้ผ่านจัดกระบวนการ KM ด้านกระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับบุคลากรภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว พร้อมทั้งสามารถตอบคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้อง

Book Care : หนังสือป่วยเราช่วยได้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง Book Care : หนังสือป่วยเราช่วยได้วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดอบรม เรื่อง Book Care : หนังสือป่วยเราช่วยได้ ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์บรรณสารฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการซ่อมหนังสือแก่โรงเรียนต่าง ๆ และบุคลากรทางการศึกษานำกลับไปซ่อมหนังสือเบื้องต้นได้

การพัฒนาคลังข้อมูลนามแฝง

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การพัฒนาคลังข้อมูลนามแฝงฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศได้มีการรวบรวมข้อมูลนามแฝงไว้มาอย่างยาวนาน และเป็นจำนวนมาก ทำให้การค้นหาทำได้อย่างไม่ค่อยสะดวก จึงมีการพัฒนาคลังข้อมูลนามแฝงขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลรายชื่อนามแฝง นามจริง และเลขคัตเตอร์ที่ใช้ ทำให้เกิดความสะดวกในการค้นหา จัดเก็บ เพิ่มรายชื่อ และตรวจสอบการซ้ำของรายชื่อได้ เมื่อได้พัฒนาระบบเสร็จสิ้นแล้วจึงได้จัดกระบวนการ KM เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้งาน ประโยชน์ และจุดประสงค์ของระบบให้กับบุคลากรภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบ และทำให้บุคลากรทราบถึงที่มาของเลขคัตเตอร์ รวมทั้งสามารถตอบคำถามแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้อง

การสร้าง Google Site เบื้องต้น

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การสร้าง Google Site เบื้องต้นวันที่ 25 มีนาคม 2565ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดทำเอกสารแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในโปรแกรม Microsoft word เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน และถูกต้อง และจัดเก็บเป็นไฟล์เอกสารแยกเป็นแต่ละไฟล์งาน และแชร์ไว้ในไดร์ฟกลางของฝ่ายฯ แต่ปัจจุบันพบว่าไฟล์ที่จัดเก็บนั้นแยกกันเป็นแต่ละเรื่อง และใช้รูปแบบแตกต่างกัน เมื่อนำมารวมกันหรือต้องการค้นหายาก จึงต้องการปรับรูปแบบของไฟล์เอกสารให้มีความน่าสนใจ และเพิ่มรูปภาพประกอบได้อย่างสวยงาม และค้นหาได้ผ่านเว็บไซต์ อีกทั้งยังช่วยให้การจัดทำเอกสารการปฏิบัติงานมีความน่าสนใจจึงเห็นความควรจัดทำในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มข้อมูลที่มีความหลากหลายทั้งตัวอักษร รูปแบบ เว็บไซต์ และวิดีโอ เพื่อเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น Google Site จึงเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลการปฏิบัติงานของฝ่ายฯ

การแนะนำการใช้งานระบบ MFU Reading Guide สำหรับผู้ให้บริการ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การแนะนำการใช้งานระบบ MFU Reading Guide สำหรับผู้ให้บริการฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศได้พัฒนาระบบ MFU Reading Guide ขึ้นเพื่อรวบรวมรายการหนังสือประกอบรายวิชาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน จาการเสนอแนะของผู้ใช้บริการ และจากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.3) เมื่อได้พัฒนาระบบเสร็จสิ้นแล้วจึงได้จัดกระบวนการ KM เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้งาน ประโยชน์ และจุดประสงค์ของระบบให้กับบุคลาการในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถาม ได้อย่างถูกต้อง มั่นใจจึงได้จัดกระบวนการ KM ผ่านช่องทางออนไลน์ โปรแกรม Google Meeting

การแนะนำการใช้งานระบบเสนอแนะหนังสือสำหรับผู้ให้บริการ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การแนะนำการใช้งานระบบเสนอแนะหนังสือสำหรับผู้ให้บริการฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยกรสารสนเทศ ได้ปรับรูปแบบการเสนอแนะหนังสือ จากแบบฟอร์มและจากส่งทางอีเมล์ มาเป็นเสนอแนะผ่าน ระบบ MFU Library Bookshop ซึ่งระบบนี้ได้พัฒนาขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2563 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถจัดงานแสดงหนังสือได้เหมือนเดิม ฝ่ายพัฒนาฯ จึงคิดปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน โดยได้ศึกษาแนวคิด รูปแบบ และวิธีการจำหน่ายหนังสือออนไลน์จากสำนักพิมพ์ และร้านค้าต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ โดยแบ่งฟังก์ชั่นการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ 1) ผู้ดูแลระบบ 2) สำนักพิมพ์ ร้านค้า และ 3) ผู้เสนอแนะ โดยทั้ง 3 ส่วน มีความเชื่อมโยงในการบริหารจัดการข้อมูลหนังสือตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ สามารถทดแทนการจัดงานในรูปแบบเดิมได้ และเป็นแหล่งคัดเลือกหรือเสนอแนะหนังสือได้ตลอดปี จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งสามารถดำเนินผ่านทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกทุกที่ทุกเวลา

Scroll to Top