<<การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ ตลอดจนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน ประกอบไปด้วย
1. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) ที่สามารถนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้เทียบเท่ากับโปรแกรมระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์ มีความสามารถหลายด้าน อำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลระบบมีอิสระในการแก้ไขฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นหรือตรงกับลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้
2. ประตูทางเข้าอัตโนมัติ (Access Control) จำนวน 2 ช่องทาง
ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาระบบประตูควบคุมทางเข้า-ออก ของผู้ใช้บริการ เพื่อควบคุมความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการ และเพื่อเป็นข้อมูลการใช้บริการห้องสมุดของสำนักวิชาต่างๆ และเพื่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดที่เกี่ยวข้อง
3. ประตูทางออกสัญญาณกันขโมย จำนวน 2 ช่องทาง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาประตูทางออกสัญญาณกันขโมย จำนวน 2 ช่องทาง ทดแทนเครื่องเดิมที่ชำรุดเพื่อป้องกันทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย
4.เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ (Self – Check Machine)
ในปี พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง (Self Checkout) ทดแทนเครื่องเดิมที่ชำรุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือที่ต้องการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ให้บริการ
5. ระบบการสืบค้นฐานข้อมูลกรณีอยู่นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย (EZproxy)
ศูนย์บรรณสารฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบ EZproxy ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท Web-Based Proxy (พัฒนาโดย Online Computer Library Center, OCLC) เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และสมาชิกห้องสมุด ระบบดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก ผ่านหน้าเว็บไซต์ของระบบ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมประเภท VPN