ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ

การพัฒนาเอกสารสำเร็จรูปโดยใช้ Microsoft Word และ การใช้เครื่องมือ Autocrat จาก Google

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การพัฒนาเอกสารสำเร็จรูปโดยใช้ Microsoft Wordและ การใช้เครื่องมือ Autocrat จาก Googleวันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 14.30 – 16.00 น.ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา  ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ โดยพบว่า การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) และอุปกรณ์ต่อพ่วง ผู้ใช้บริการต้องกรอกข้อมูลสัญญาการให้ยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) และอุปกรณ์ต่อพ่วง ในรูปแบบกระดาษ และการสรุปค่าปรับประจำวันของศูนย์บรรณสารฯ เพื่อรายงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัยทุกวัน ซึ่งทั้งสองขั้นตอนการทำงาน ทำให้สิ้นเปลืองกระดาษ เจ้าหน้าที่ทำงานซ้ำซ้อน และเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ ดังนั้นฝ่ายบริการฯ จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานดังกล่าว ศึกษาเทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อพัฒนา และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ลดขั้นตอน และลดการใช้กระดาษ

แนวทางการให้บริการ และการติดตามทวงถาม Notebook

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการให้บริการ และการติดตามทวงถาม Notebookวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.30-16.00 น.ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้รับมอบหมายให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง จำนวน 30 เครื่อง ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งมีขั้นตอนการให้บริการยืม-คืนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยพบว่า การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ยังไม่ครอบคลุมการติดตามทวงถาม กรณีที่นักศึกษาค้างส่งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งต้องประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการติดตามทวงถามเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงของศูนย์บรรณสารฯ

แนวทางการพัฒนาระบบรับนักศึกษาช่วยงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบรับนักศึกษาช่วยงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30-15.30 น.ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ดำเนินการรับนักศึกษาช่วยงานห้องสมุด รวมทั้งมีความประสงค์ที่จะพัฒนาระบบนักศึกษาช่วยงานเพื่อใช้ในการรับนักศึกษาช่วยงานภายในห้องสมุด และเป็นการช่วยเสริมสร้างพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางสังคม การใช้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้แก่นักศึกษาช่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานรับนักศึกษาช่วยงานห้องสมุด ได้ศึกษาและนำปัญหาที่พบมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับส่วนพัฒนานักศึกษาของหมาวิทยาลัยม่ฟ้าหลวง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ให้บริการห้องสมุดได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้กับระบบนักศึกษาช่วยงานได้

การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการ Board Game#2

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการ Board Game#2วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 16.00-17.30 น.ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย รวมทั้งการให้บริการบอร์ดเกม ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก โดยเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการประสบปัญหาว่า ไม่สามารถให้คำแนะนำผู้ใช้บริการในการเล่มบอร์ดเกมได้เนื่องจากไม่เคยเล่นบอร์ดเกม ดังนั้นเพื่อให้บริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า จึงได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศเพื่อที่จะตอบคำถาม และแนะนำการเล่นบอร์ดเกมในเบื้องต้นได้

สร้างความมั่นใจกับการเขียนภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรม QuillBot

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง สร้างความมั่นใจกับการเขียนภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรม QuillBotวันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายบริการฯ ได้กำหนดให้มีการจัดการความรู้ เรื่อง สร้างความมั่นใจกับการเขียนภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรม QuillBot ในวันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 ทางโปรแกรมออนไลน์ Google Meet เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการห้องสมุดสามารถใช้งานโปรแกรม QuillBot ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแนะนำการใช้งานโปรแกรม QuillBot ให้แก่ผู้ใช้บริการได้ การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นๆของมหาวิทยาลัย โปรแกรม QuillBot เป็นเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบภาษาอังกฤษให้มีความถูกต้องและสละสลวย เป็นการอำนวยความสะดวกและเสนอทางเลือกในการใช้ภาษาอังกฤษให้เหมาะกับตามบริบทที่ใช้งาน ทั้งนี้ บุคลากร และนักศึกษาสามารถใช้บริการได้ที่จุดบริการที่ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดเตรียมไว้ได้

แนวทางการให้บริการนักศึกษาต่างชาติ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการให้บริการนักศึกษาต่างชาติวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายบริการฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการนักศึกษาพิเศษ เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565 โดยเจ้าหน้าที่จากส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับบริการที่ช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติของส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำนวนนักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยนโครงการต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงทำความร่วมมือ รวมถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ เพื่อให้เป็นข้อมูลในการจัดบริการและกิจกรรมส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารนิเทศของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ

แนวทางการให้บริการนักศึกษาพิเศษ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการให้บริการนักศึกษาพิเศษวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายบริการฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการนักศึกษาพิเศษ เมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 โดยเจ้าหน้าที่จากส่วนพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะ และข้อพึงปฎิบัติในการให้บริการนักศึกษาพิเศษ จึงทำให้ฝ่ายบริการฯ ได้ปรับการให้บริการในรูปแบบออนไลน์ (Online Library : https://www.library.mfu.ac.th/th/online-library/) เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่เป็นนักศึกษาพิเศษสามารถใช้บริการได้โดยไม่ต้องเข้าใช้บริการที่ห้องสมุดเพียงอย่างเดียว

การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการ Board Game

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการ Board Gameวันศุกร์ ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายบริการฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการ Board Game เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 โดยฝ่ายบริการฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการให้บริการ และร่วมเล่น Board Game ทำให้ทราบถึงกติกาการเล่น และเงื่อนไขของ Board Game เพื่อนำมาปรับในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ และเพิ่มความมั่นใจในการให้บริการ

การใช้งานโปรแกรม Mendeley

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดวันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้กำหนดให้มีการจัดการความรู้ เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Mendeley วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้องฝึกอบรม (Training Room) ชั้น 5 อาคารศูนย์บรรณสารฯเพื่อให้บรรณารักษ์ได้เรียนรู้การใช้งานโปรแกรมการจัดการบรรณานุกรม Mendeley ในการใช้งานเบื้องต้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการให้คำแนะนำกับผู้ใช้ เมื่อนำโปรแกรมนี้มาให้บริการในอนาคต การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นๆของมหาวิทยาลัย โปรแกรมการจัดการบรรณานุกรม Mendeley เป็นโปรแกรมที่สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย ที่ใช้งานได้ง่าย และสามารถเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักวิจัย นักศึกษา และอาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถค้นคว้าวิจัยและอ้างอิงข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าวิจัย พร้อมทั้ง ตัวโปรแกรมที่รองรับการทำงานผ่านระบบปฏิบัติการหลายรูปแบบ และการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อีเมล์ของมหาวิทยาลัย @mfu.ac.th ในการสร้างบัญชี ซึ่งจะได้รับสิทธิสำหรับบัญชีแบบสถาบัน และยังเพิ่มความปลอดภัยของการใช้งานเนื่องจากใช้งานผ่านเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในอนาคตหากมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ก็สามารถจัดตั้งกลุ่มเพื่อรวบรวมข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยร่วมกันได้อย่างปลอดภัย

แนวทางการแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดวันที่ 7 ธันวาคม 2564ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้กำหนดให้มีการจัดการความรู้ เรื่องแนวทางการแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารศูนย์บรรณสารฯเพื่อให้เจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริการฯ สามารถตอบคำถาม และแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้ การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นๆของมหาวิทยาลัย แนวทางการแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด สามารถนำเทคนิคไปประยุกต์ใช้ในการค้นคว้าทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ อาทิ การสืบค้นข้อมูลทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าเพื่อประกอบการเรียนการสอน

Scroll to Top