การเบิกจ่ายและคืนเงินทดรองจ่าย

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การเบิกจ่ายและคืนเงินทดรองจ่าย เนื่องจากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้างวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท การจัดทำเอกสารเบิกจ่ายและคืนเงินทดรองจ่ายเป็นกระบวนการที่สำคัญและมีความซับซ้อน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด

การตรวจสอบเอกสารด้วย Checklist

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การตรวจสอบเอกสารด้วย Checklist ตามที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งแบ่งเป็นหลายประเภท เช่นการจัดซื้อจัดจ้างโดยหน่วยงานจัดซื้อเอง การจัดซื้อจัดจ้างโดยผ่านพัสดุส่วนกลาง การยืมเงินทดรองจ่าย เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทการจัดทำเอกสารก็แตกต่างกันออกไป และจำนวนเอกสารที่ใช้ประกอบการจัดซื้อจัดจ้างมีจำนวนมาก หรือเอกสารสูญหาย ยากต่อการค้นหา การตรวจสอบล่าช้า เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ศูนย์บรรณสารฯ จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำ Checklist การตรวจสอบเอกสาร เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละประเภท และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เพิ่มความถูกต้องและลดความผิดพลาดในการทำงาน

กระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง กระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ในอดีตที่ผ่านมาฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ ได้รับวิทยานิพนธ์ (ฉบับรูปเล่ม และ CD ประกอบ) จากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อมาดำเนินงานการวิเคราะห์และจัดระบบงานวิจัย วิทยานิพนธ์เพื่อให้บริการในลำดับต่อไป แต่ปัจจุบันสำนักงานบัณฑิตศึกษา ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดส่งวิทยานิพนธ์เป็นรูปแบบ Electronic File จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดเก็บและให้บริการวิทยานิพนธ์ของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เปลี่ยนแปลงไป ทำให้บุคลากรภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาที่ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ จึงได้สรุปกระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการวิทยานิพนธ์ของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ตั้งแต่รับเรื่องจนถึงการให้บริการ ตลอดจนการแก้ปัญหาเบื้องต้น และถ่ายทอดความรู้ผ่านจัดกระบวนการ KM ด้านกระบวนการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับบุคลากรภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว พร้อมทั้งสามารถตอบคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้อง

ระบบจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาตนเอง

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง ระบบจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาตนเองวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567ผ่านระบบออนไลน์ Google Meet ระบบจัดเก็บข้อมูลการพัฒนามีที่มาจากความต้องการในการจัดการข้อมูลของการได้รับการพัฒนาตนเองของบุคลากรในหน่วยงาน ที่เข้าร่วมการประชุม/สัมมนา ฝึกอบรมพัฒนาทักษะความรู้ด้านต่างๆ เพื่อให้มีการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวมถึงการติดตามการนําความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพในงานที่รับผิดชอบ มีการแสดงรายงานผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น รายงานภาพรวมของ หน่วยงาน การเข้ารับการพัฒนาตนเองรายบุคคล แยกตามตําแหน่งงาน งบประมาณที่ใช้ ประโยชน์และ การนํามาประยุกต์ใช้ ทําให้การจัดเก็บข้อมูลภายในหน่วยงานมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และ หน่วยงานสามารถนําข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ และการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร นําไปสู่การพัฒนาและ ปรับปรุงต่อไป

การใช้งานระบบ MFU e-Meeting

การจัดการความรู้” (Knowledge Management: KM)เรื่อง การใช้งานระบบ MFU e-Meetingวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 5 อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ด้วยศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพัฒนาระบบจัดทำระเบียบวาระการประขุมภายในมหาวิทยาลัย (e-Meeting) ซึ่งเป็นระบบที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้จัดการประชุม และส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม มีจุดเด่น คือ ลดขั้นตอนการทำงาน ลดความผิดพลาดการทำข้อมูลประกอบระเบียบวาระฯ และลดความผิดพลาดในการสื่อสาร ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยกำหนดให้หน่วยงานเริ่มใช้งานระบบตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

การพัฒนาเอกสารสำเร็จรูปโดยใช้ Microsoft Word และ การใช้เครื่องมือ Autocrat จาก Google

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การพัฒนาเอกสารสำเร็จรูปโดยใช้ Microsoft Wordและ การใช้เครื่องมือ Autocrat จาก Googleวันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 14.30 – 16.00 น.ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา  ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ โดยพบว่า การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) และอุปกรณ์ต่อพ่วง ผู้ใช้บริการต้องกรอกข้อมูลสัญญาการให้ยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) และอุปกรณ์ต่อพ่วง ในรูปแบบกระดาษ และการสรุปค่าปรับประจำวันของศูนย์บรรณสารฯ เพื่อรายงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัยทุกวัน ซึ่งทั้งสองขั้นตอนการทำงาน ทำให้สิ้นเปลืองกระดาษ เจ้าหน้าที่ทำงานซ้ำซ้อน และเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ ดังนั้นฝ่ายบริการฯ จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานดังกล่าว ศึกษาเทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อพัฒนา และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ลดขั้นตอน และลดการใช้กระดาษ

การใช้งานระบบการจัดเก็บเอกสาร ISO 14001 : 2015

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การใช้งานระบบการจัดเก็บเอกสาร ISO 14001 : 2015วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2566ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 5 อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เนื่องจากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ดำเนินโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 : 2015 ซึ่งในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีระบบจัดการเอกสารที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ต้องมีการจัดเก็บเอกสารที่จำเป็นสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน และรองรับการจัดการและควบคุมเอกสารทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงเอกสารที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมั่นใจได้ว่าเอกสารที่ได้ จะเป็นเอกสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ จึงได้พัฒนาระบบสารสนเทศด้านการจัดการและควบคุมเอกสาร “MFU Smart ISO” ขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน

แนวทางการให้บริการ และการติดตามทวงถาม Notebook

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการให้บริการ และการติดตามทวงถาม Notebookวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.30-16.00 น.ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้รับมอบหมายให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง จำนวน 30 เครื่อง ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งมีขั้นตอนการให้บริการยืม-คืนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยพบว่า การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ยังไม่ครอบคลุมการติดตามทวงถาม กรณีที่นักศึกษาค้างส่งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งต้องประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการติดตามทวงถามเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงของศูนย์บรรณสารฯ

แนวทางการพัฒนาระบบรับนักศึกษาช่วยงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบรับนักศึกษาช่วยงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30-15.30 น.ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ดำเนินการรับนักศึกษาช่วยงานห้องสมุด รวมทั้งมีความประสงค์ที่จะพัฒนาระบบนักศึกษาช่วยงานเพื่อใช้ในการรับนักศึกษาช่วยงานภายในห้องสมุด และเป็นการช่วยเสริมสร้างพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางสังคม การใช้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้แก่นักศึกษาช่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานรับนักศึกษาช่วยงานห้องสมุด ได้ศึกษาและนำปัญหาที่พบมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับส่วนพัฒนานักศึกษาของหมาวิทยาลัยม่ฟ้าหลวง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ให้บริการห้องสมุดได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้กับระบบนักศึกษาช่วยงานได้

การพัฒนาคลังข้อมูลนามแฝง

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)เรื่อง การพัฒนาคลังข้อมูลนามแฝงฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศได้มีการรวบรวมข้อมูลนามแฝงไว้มาอย่างยาวนาน และเป็นจำนวนมาก ทำให้การค้นหาทำได้อย่างไม่ค่อยสะดวก จึงมีการพัฒนาคลังข้อมูลนามแฝงขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลรายชื่อนามแฝง นามจริง และเลขคัตเตอร์ที่ใช้ ทำให้เกิดความสะดวกในการค้นหา จัดเก็บ เพิ่มรายชื่อ และตรวจสอบการซ้ำของรายชื่อได้ เมื่อได้พัฒนาระบบเสร็จสิ้นแล้วจึงได้จัดกระบวนการ KM เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้งาน ประโยชน์ และจุดประสงค์ของระบบให้กับบุคลากรภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบ และทำให้บุคลากรทราบถึงที่มาของเลขคัตเตอร์ รวมทั้งสามารถตอบคำถามแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้อง

Scroll to Top