สรุปการใช้ทรัพยากรและพลังงาน

พลังงานไฟฟ้า

ปี 2565 ใช้ไฟฟ้า 314,469 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) : คิดเป็นร้อยละ 45.13

ปี 2566 ใช้ไฟฟ้า 382,317 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) : คิดเป็นร้อยละ 54.87

: ปี 2566 มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 67,848 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 9.74 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

ทั้งนี้ ปี 2566 เปิดบริการทุกพื้นที่ และมีวัน-เวลาทำการ และผู้เข้าใช้บริการที่มากกว่า ปี 2565 จึงมีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาใช้ภายในห้องสมุด อาทิ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค, สายชาร์จโทรศัพท์, แบตเตอรี่สำรอง มีผลต่อปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว

ปี 2566 : มีผู้เข้าใช้บริการ 321,906 คน มากกว่า ปี 2565 ที่มีผู้เข้าใช้บริการ 222,353 คน เป็นจำนวน 99,553 คน เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 18.29 ของปี 2565

: มีจำนวนวันให้บริการ 344 วัน มากกว่า ปี 2565 ที่มีจำนวนวันให้บริการ 328 วัน เป็นจำนวน 16 วัน เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 2.38 ของปี 2565

: มีจำนวนชั่วโมงให้บริการ 3,575.20 ชม. มากกว่าปี 2565 ที่มีจำนวนชั่วโมงให้บริการ 3,285 ชม. เป็นจำนวน 290.20 ชม. เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.22 ของปี 2565

ในการนี้ จากเป้าหมายการใช้ไฟฟ้าปี 2566 ของศูนย์บรรณสารฯ ได้กำหนดให้การใช้ไฟฟ้า มีปริมาณการใช้ลดลง 1% จากปี 2565 จากจำนวนวัน-เวลาทำการ และผู้เข้าใช้บริการที่มากกว่าปี 2565 อย่างมีนัยสำคัญ จึงมีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการใช้ไฟฟ้าตามที่ตั้งไว้ได้

ทั้งนี้ หากอ้างอิงค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า/ต่อพื้นที่ (kWh/m2) ต่อเดือนของประเทศไทย ประจำปี 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทย : อ้างค่าเฉลี่ยจากกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม

: มีค่าเฉลี่ยของประเทศไทย อยู่ที่ 11.85 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ตร.ม. (kWh/m2) ต่อเดือน

ศูนย์บรรณสารฯ มีค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าที่ 3.73 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ตร.ม. (kWh/m2) ต่อเดือน ซึ่งยังคงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย ตามที่กล่าวข้างต้น

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปกติ ศูนย์บรรณสารฯ ยังคงตระหนักถึง การรณรงค์ให้บุคลากร และผู้ใช้บริการช่วยกันประหยัดไฟฟ้าด้วยวิธีการหลากหลาย และยังคงเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามมาตรการการประหยัดการใช้ไฟฟ้าอย่างเคร่งครัด เช่น ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังใช้งาน, เปิดเครื่องปรับอากาศ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส, ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน และเป็นรุ่นประหยัดไฟฟ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่าร่วมกันต่อไป

น้ำ

ปี พ.ศ. 2565 มีการใช้น้ำ 9,864 ลูกบาศก์เมตร (m3)

ปี พ.ศ. 2566 มีการใช้น้ำ 12,031 ลูกบาศก์เมตร (m3)

: ปี 2566 มีการใช้น้ำรวมเพิ่มขึ้น 2,167 ลูกบาศก์เมตร (m3) เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 21.97 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 

ทั้งนี้ปี 2566 ศูนย์บรรณสารฯ ได้เปิดทำการทั้งหมด 344 วัน เมื่อเทียบกับปี 2565 เปิดทำการ 328 วัน โดยเปิดทำการเพิ่มขึ้น 16 วัน และมีการขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการในบางพื้นที่ เช่น ห้อง M-Learning

Space และ Living and Learning Zone เพิ่มขึ้นจากที่ให้บริการถึงเวลา 21.00 น. ปรับเป็นให้บริการถึงเที่ยงคืนและให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงสอบกลางภาคและสอบปลายภาค และในปี 2566 มีจำนวนชั่วโมงการใช้ประมาณ 3,575 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับปี 2565 มีจำนวนชั่วโมงการใช้ประมาณ 3,286 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นมา 289 ชั่วโมง และในปี 2566 มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด 321,906 คน (ไม่รวมพนักงาน) เทียบกับปี 2565 มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด 222,353 คน (ไม่รวมพนักงาน) เพิ่มขึ้นมา 99,553 คน(ไม่รวมพนักงาน) จึงมีส่วนในการส่งผลให้มีระยะเวลาเปิดให้บริการเพิ่มขึ้น ชั่วโมงการใช้เพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ใช้บริการมากขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

ในการนี้ จากเป้าหมายการใช้น้ำาของปี 2566 ได้ตั้งเป้าหมายในการใช้น้ำลดลง 1% จากปี 2565 แต่เนื่องด้วยจำนวนวันที่ให้บริการ, จำนวนชั่วโมงการให้บริการทั้งหมด รวมไปถึงจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เมื่อพิจารณาเทียบกับเป้าหมายดังกล่าวในภาพรวมจึงไม่บรรลุเป้าหมายในการใช้น้ำตามที่ได้ตั้งไว้

อย่างไรก็ตามศูนย์บรรณสารฯ มุ่งเน้นให้ลดปริมาณการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการลดการใช้น้ำ มีการควบคุมการใช้น้ำ มีการตรวจสอบการรั่วซึมของก๊อกน้ำ และท่อน้ำ และมีการแจ้งการใช้ทรัพยากรทุกเดือน เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกอนุรักษ์พลังงานอยู่เสมอ

กระดาษ

สรุปการใช้กระดาษ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ประจำปี 2565-2566

– ปี 2565 มีการใช้กระดาษ รวม 77 รีม คิดเป็น 192.5 กิโลกรัม

– ปี 2566 มีการใช้กระดาษ รวม 71 รีม คิดเป็น 177.5 กิโลกรัม

สรุปปี 2566 มีการใช้กระดาษ ลดลง 6 รีม รวม 15 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 7.79

เนื่องด้วยในเทคโนโลยีเข้ํามํามีบทบําทส่วนช่วยในกํารเก็บบันทึกข้อมูล ประมวลผลและการนำเสนอข้อมูล อีกทั้งมหาวิทยาแม่ฟ้ําหลวงมีระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งต่อข้อมูล นำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาแจ้งเวียนแก่พนักงานโดยตรง ไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสาร สามารถดูรายการเอกสารย้อนหลังได้ อีกทั้งยังมีการเก็บข้อมูลผ่าน Google Drive และ One Drive มีการเก็บแบบประเมินความพึงพอใจในรูปแบบ Google Form และสามารถสรุปผลโดยการนำเสนอข้อมูลเชิงกราฟิก (Google Data Studio และ Microsoft Power BI)