การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการให้บริการและการปฎิบัติงานของศูนย์บรรณสารฯ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ ดังนี้

ระบบการสมัครและต่ออายุสมาชิกนักศึกษาเก่า/ บุคคลภายนอก สำหรับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบการสมัครและต่ออายุสมาชิกนักศึกษาเก่า/ บุคคลภายนอก สำหรับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเก่า หรือบุคคลภายนอก สามารถเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ยืมหนังสือ รวมไปถึงบริการต่างๆที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติมีให้บริการ ซึ่งระบบจะมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลระบบบริการการศึกษาของมหาวิทยาลัย (REG) สำหรับนักศึกษา และเชื่อมโยงกับระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) สำหรับบุคลากร โดยระบบจะบันทึกข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้ทันทีและสามารถใช้บริการต่างๆได้ การพัฒนาระบบการสมัครและต่ออายุสมาชิกนักศึกษาเก่า/ บุคคลภายนอก สำหรับระบบห้องสมุดอัตโนมัติช่วยลดเวลา ลดขั้นตอน และลดความผิดพลาดในการทำงาน สามารถบริการต่างๆของระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว

ระบบติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) การปฏิบัติงานพนักงาน ศูนย์บรรณสารฯ

ศูนย์บรรณสารฯ พัฒนาระบบติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) การปฏิบัติงานพนักงาน เพื่อใช้ในการประเมินผลประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติงานพนักงานในศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลภาระงานหลัก งานรอง งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย รวมไปถึงการมีส่วนร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาตนเองได้ด้วย โดยพนักงานจะมีการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานตามภาระงานที่กำหนดและบันทึกผลการดำเนินงานในทุก ๆ เดือน นอกจากนั้นหัวหน้าฝ่ายสามารถกำหนดค่าความสำคัญและกำหนดค่าน้ำหนักงานในระบบ และประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลตามรอบประเมินของมหาวิทยาลัยได้ด้วย

ระบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ต่อศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

ศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและความพึงพอใจของบุคลากรมหาวิทยาลัย ต่อศูนย์บรรณสารฯ เพื่อใช้ในการจัดเก็บความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ตลอดจนข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของบุคลากรมหาวิทยาลัย ที่จำแนกตามประเภทของผู้ประเมิน ตามสถานภาพผู้ประเมิน สำนักหรือหน่วยงานที่สังกัด ระบบดังกล่าวพัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ในการเขียนโปรแกรม และใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลได้ใช้ทฤษฎีคำนวณของทาโร่ ยามาเน (Taro Yamane) ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่ตอบแบบประเมิน โดยให้อยู่ในระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ เป็นระบบที่มีความสะดวก สามารถให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (Realtime) และข้อมูลย้อนหลัง (Historical data) 

ทั้งนี้ศูนย์บรรณสารฯ ได้นำข้อมูลจากระบบประเมินความพึงพอใจดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการให้บริการตลอดจนการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการประเมินคุณภาพการศึกษาและของมหาวิทยาลัย

ระบบการเชื่อมโยงรายการหนังสือจากระบบห้องสมุด Matrix สู่ระบบหนังสือบริจาค

ศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบการเชื่อมโยงรายการหนังสือจากระบบห้องสมุด Matrix สู่ระบบหนังสือบริจาค เพื่อจัดเก็บข้อมูลหนังสือที่มีการบริจาคให้ศูนย์บรรณสารฯ รวมไปถึงชื่อผู้บริจาค และการตอบกลับจดหมายขอบคุณ

ระบบ MFU Researcher Profile

ศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบ MFU Researcher profile เพื่อรวบรวมรายชื่ออาจารย์/ นักวิจัยของมหาวิทยาแม่ฟ้าหลวงที่มีบทความตีพิมพ์ในวารสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูล Scopus จำแนกตามสำนักวิชาและหน่วยงาน โดยเชื่อมโยงข้อมูลด้วย API ของ Scopus ไปยัง Scopus Author ID เพื่อให้ข้อมูลมีการอัปเดตอัตโนมัติ หากอาจารย์และนักวิจัยมีบทความตีพิมพ์ใหม่ รวมถึงเป็นข้อมูลเพื่อศึกษาการใช้วารสารที่อาจารย์/ นักวิจัยใช้อ้างอิงในการเขียนบทความ