สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. สัญญาณเครือข่ายไร้สาย (Wifi)

ศูนย์บรรณสารฯ มีจุดเชื่อมต่อช่องสัญญาณเครือข่ายไร้สาย ติดตั้งครอบคลุมทุกพื้นที่ของห้องสมุดโดยผู้ใช้บริการสามารถใช้บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของตนเองในการล็อคอินเข้าใช้งานได้

  1. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook)

ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการยืมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จำนวน 30 เครื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยนักศึกษาสามารถยืมได้ 7 วัน

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์

ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 48 เครื่อง เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยให้บริการที่ชั้น 3 และชั้น 4 

  1. IPAD 

ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการ IPAD จำนวน 6 เครื่อง ณ มุม Edutainment Zone เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  1. ปากกา IPAD  

ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการปากกา IPAD จำนวน 2 เครื่อง ณ มุม Edutainment Zone เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  1. เครื่องยืมอัตโนมัติ (Self-Check Out)

ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการเครื่องยืมอัตโนมัติให้บริการที่ชั้น 3 โดยผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง ทำให้สะดวก และรวดเร็ว หน้าจอของเครื่องยืมอัตโนมัติเป็นการทำงานเป็นแบบสัมผัส มีใบบันทึกรายการยืมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้บริการเก็บไว้เป็นหลักฐานการยืมด้วย

  1. เครื่องฟอกอากาศ

ศูนย์บรรณสารฯ มีเครื่องฟอกอากาศให้บริการภายในห้องสมุด พื้นที่ Living & Learning Zone และพื้นที่ M-Learning Space จำนวน 53 เครื่อง

  1. ตู้กดน้ำดื่ม

ศูนย์บรรณสารฯ มีตู้กดน้ำดื่มให้บริการภายในห้องสมุด พื้นที่ Living & Learning Zone และพื้นที่ M-Learning Space จำนวน 5 เครื่อง

  1. กล้องวงจรปิด

ศูนย์บรรณสารฯ มีกล้องวงจรปิดในห้องสมุด พื้นที่ Living & Learning Zone และพื้นที่ M-Learning Space จำนวน 43 จุด สำหรับการเฝ้าระวังสังเกตการณ์ และบันทึกภาพบุคคลที่อยู่ภายในอาคารศูนย์บรรณสารฯ เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวปฏิบัติศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง ความเป็นส่วนตัวในการใช้กล้องวงจรปิดของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (CCTV Privacy Notice)

  1. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) ที่สามารถนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้เทียบเท่ากับโปรแกรมระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์ มีความสามารถหลายด้านอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลระบบมีอิสระในการแก้ไขฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นหรือตรงกับลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้

  1. ประตูทางเข้าอัตโนมัติ (Access Control) จำนวน 2 ช่องทาง

ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาระบบประตูควบคุมทางเข้า-ออก ของผู้ใช้บริการ เพื่อควบคุมความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการ และเพื่อเป็นข้อมูลการใช้บริการห้องสมุดของสำนักวิชาต่าง ๆ และเพื่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดที่เกี่ยวข้อง    

  1. ประตูทางออกสัญญาณกันขโมย จำนวน 2 ช่องทาง

ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาประตูทางออกสัญญาณกันขโมย จำนวน 2 ช่องทาง เพื่อตรวจสอบและป้องกันทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย

  1. ระบบการสืบค้นฐานข้อมูลกรณีอยู่นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย (EZproxy)

ศูนย์บรรณสารฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบ EZproxy ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท Web-Based Proxy  เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และสมาชิกห้องสมุด ระบบดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก ผ่านหน้าเว็บไซต์ของระบบ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมประเภท VPN