การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ – Annual Reports https://library.mfu.ac.th/report-2564 Thu, 07 Apr 2022 04:25:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.2 https://library.mfu.ac.th/report-2564/wp-content/uploads/2022/02/cropped-mfu-library-logo-color_4-mfu-libbrary-icon-2-32x32.png การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ – Annual Reports https://library.mfu.ac.th/report-2564 32 32 การพัฒนาระบบสารสนเทศ https://library.mfu.ac.th/report-2564/information-technology/system-development/ https://library.mfu.ac.th/report-2564/information-technology/system-development/#respond Sun, 27 Feb 2022 22:51:00 +0000 https://library.mfu.ac.th/report-2564/?p=588 Continue reading "การพัฒนาระบบสารสนเทศ"]]> ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่างๆ ทั้งในส่วนของการให้บริการและการปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ ดังนี้

ระบบ MFU Library Bookshop 

 ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยงดการเรียนการสอนในรูปแบบ Onsite ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวและจัดในรูปแบบออนไลน์  ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ จึงได้จัดงานมหกรรมหนังสือในรูปแบบออนไลน์เป็นปีแรก โดยได้พัฒนาระบบ MFU Library Bookshop เพื่อให้ร้านค้าและสำนักพิมพ์ต่างๆ จัดแสดงหนังสือในรูปแบบ e-Shelf จำแนกตามสำนักวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและจัดหาหนังสือ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนและการค้นคว้า

https://libraryapp.mfu.ac.th/acq/bookshop/

แอปพลิเคชันสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ

จากพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดที่มีการวางสัมภาระส่วนตัวทิ้งไว้ยังที่นั่งอ่านและออกจากห้องสมุดไปเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ผู้ใช้อื่นไม่สามารถใช้ที่นั่งนั้นได้ เพื่อให้สามารถจัดบริการที่นั่งอ่านหนังสือในพื้นที่ห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์บรรณสารฯ จึงพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสำรองที่นั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด (Ready Seat Ready) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสำรองที่นั่งอ่านหนังสือ โดยสแกนคิวอาร์โค้ดรหัสที่นั่งที่ติดไว้ยังที่นั่งอ่านหนังสือแต่ละที่ ผู้ใช้บริการจะสามารถสำรองที่นั่งอ่านหนังสือของตนเอง ได้ตามช่วงเวลาที่ศูนย์บรรณสารฯ กำหนด 

ทั้งนี้ การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสำรองที่นั่งอ่านหนังสือดังกล่าว จึงเป็นการสร้างกติกาและข้อตกลงร่วมกันในการใช้บริการห้องสมุดอย่างเป็นระเบียบ ลดปัญหาข้อพิพาทขัดแย้ง และเกิดการแบ่งปันที่นั่งอ่านหนังสือระหว่างผู้ใช้บริการ เป็นการจัดสรรที่นั่งอ่านหนังสือซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดการหมุนเวียนใช้งานที่นั่งอ่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการสำรวจและตรวจนับครุภัณฑ์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่มีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ระบบดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ปฏิบัติงานในการบริหารจัดการครุภัณฑ์หน่วยงาน และสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจำหน่ายและจัดหาครุภัณฑ์ในปีถัดไป

https://libraryapp.mfu.ac.th/asset/admin/index.php

ระบบจัดการพัสดุสำนักงาน

ระบบจัดการพัสดุสำนักงานพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุสำนักงานในฝ่ายงานต่างๆ ของศูนย์บรรณสารฯ ประมาณการค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายงานที่มีการเบิกพัสดุในรอบเดือน ทั้งยังช่วยในการตรวจสอบวัสดุคงเหลือประจำปี การจัดทำรายงานและสรุปผลรายเดือน/รายปี

http://www.library.mfu.ac.th/office-equipment/login


]]>
https://library.mfu.ac.th/report-2564/information-technology/system-development/feed/ 0
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ https://library.mfu.ac.th/report-2564/information-technology/it/ https://library.mfu.ac.th/report-2564/information-technology/it/#respond Sun, 27 Feb 2022 22:44:11 +0000 https://library.mfu.ac.th/report-2564/?p=586 Continue reading "ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ"]]> ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ ตลอดจนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน  ประกอบไปด้วย

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA)

เมื่อแรกเริ่มดำเนินงาน ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS  (Virginia Tech Library System)  มาใช้ในการบริหารจัดการ และการให้บริการสืบค้นและยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ต่อมาในปีพ.ศ. 2562 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ปรับเปลี่ยนระบบห้องสมุด จาก VTLS เป็นระบบห้องสมุด KOHA เวอร์ชัน 16.15  

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (KOHA) เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) ที่สามารถนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้เทียบเท่ากับโปรแกรมระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์ มีความสามารถหลายด้าน อำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลระบบมีอิสระในการแก้ไขฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นหรือตรงกับลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้  

เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง   (Self Check out)

ในปีพ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติด้วยตนเอง (Self Checkout) ทดแทนเครื่องเดิมที่ชำรุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือที่ต้องการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ให้บริการ

ประตูควบคุมทางเข้าอัตโนมัติ (Access Control) 

ศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดหาระบบประตูควบคุมทางเข้า-ออก ของผู้ใช้บริการ เพื่อควบคุมความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการ และเพื่อเป็นข้อมูลการใช้บริการห้องสมุดของสำนักวิชาต่างๆ และเพื่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดที่เกี่ยวข้อง    

ระบบเครือข่าย (Lan) และเครือข่ายไร้สาย (Wireless)

ศูนย์บรรณสารฯ ดำเนินการปรับปรุงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Lan) ภายในอาคารเพิ่มเติม เพื่อรองรับการให้บริการสืบค้นข้อมูลความเร็วสูง  ตลอดจนเพื่อรองรับการให้บริการชมภาพยนตร์และสื่อมัลติมีเดียออนไลน์ (Movie on Demand)  นอกจากนี้ ได้ติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless) ความเร็วสูงเพื่อเติมให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด สำหรับรองรับการใช้งานของผู้ใช้บริการที่นำอุปกรณ์ของตนเองมาใช้งาน (Bring your own device , BYOD) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนออนไลน์ และการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา  โดยการดำเนินการของศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย  

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

ในปีพ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณสารฯ ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม จำนวน 8 ตัว ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ เพื่อรักษาทรัพย์สินและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและมหาวิทยาลัย

ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจากจุดเดียว  (Single Search) 

ในการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสืบค้นจากจุดเดียวนัั้น ได้นำระบบ Ebsco Discovery Service (EDS) มาใช้ในการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สปอว.)

การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ จากภายในเครือข่ายมหาวิทยาลัย

ศูนย์บรรณสารฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบ EZProxy ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท web-based proxy  (พัฒนาโดย Online Computer Library Center, OCLC)  เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และสมาชิกห้องสมุด  ระบบดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก ผ่านหน้าเว็บไซต์ของระบบ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมประเภท VPN 


]]>
https://library.mfu.ac.th/report-2564/information-technology/it/feed/ 0