2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
1. ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว
- การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การจัดหาและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
2. ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ 1 โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
3. ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ หรือการประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
4. จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร
1. ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาการอบรม
2. ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ประวัติ หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
2.2 การณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร
1. กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
หัวข้อ |
ความถี่ |
1. นโยบายห้องสมุด | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง |
2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง |
3. ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง |
4. กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง |
5. กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง |
2. กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร
4. กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
การรับรู้รับทราบของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อมของศูนย์บรรณสารฯ (ห้องสมุด)
โดยต้องมีแนวทางดังนี้
1. มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค อีเมล กล่องรับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุม
2. มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
3.มีการแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว
4. มีการรายงานผลการปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น และเสนอต่อผู้บริหาร