ห้องสมุดสีเขียว หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

1.1 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1.  มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของห้องสมุดทั้งหมด ทั้งส่วนของสำนักงาน และพื้นที่บริการ

2. มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของห้องสมุด

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.1.2 มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว โดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ด้านห้องสมุด

  1. มีนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  2. มีนโยบายการจัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ และพร้อมใช้
  3. มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
  4. มีนโยบายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

(รายละเอียดเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.1.3 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารระดับสูง

1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

2. มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน

3. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนวจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของการเป็นห้องสมุดสีเขียว

4. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนวจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายห้องสมุด

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี

1. รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด

2. มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานแต่ละหมวด

3. มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็นลายลักาณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านห้องสมุด (ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว) และมีหลักฐานการลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน

1. การจัดการและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

2. การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และก๊าซเรือนกระจก

3. การจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ

4. ความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุดสีเขียว

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.1.6 มีการกำหนดใช้งานห้องสมุดสีเขียว ทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงานประจำของหน่วยงาน

1. มีการกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็นแผนงานประจำของห้องสมุด โดยดำเนินงานต่อเนื่องทุกปี

2. มีการสรุปปัญหาและนวทางการปรับปรุง เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป

3. มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุดและงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

4. กำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว เป็นภาระงานของบุคลากรที่ต้องได้รับการประเมิน

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.1.7 มีการกำหนดนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร หรือนโยบายของประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากล

1. มีการกำหนดนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หรือนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของห้องสมุด

2. มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานการลดปล่อยก๊าซเรือยกระจกระยะสั้นและระยะยาวของห้องสมุด ที่สอดคล้องกับนโยบายข้อ 1

3. มีการลด และ/หรือ ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4. ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 2

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.2 คณะทำงานห้องสมุดสีเขียว

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

โดยมีแนวทาง ดำเนินงาน ดังนี้

1. ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวดและประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน

2. กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการหรือทีมงาน อย่างชัดเจน

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ด้านห้องสมุดที่ดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

1. ประธาน/หัวหน้า

2. คณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด

 

1.3 การทบทวนฝ่ายบริหาร

1.3.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

1. มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม

2. มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านห้องสมุดในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม

3. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม

4. หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.3.2 มีการกำหนดวาระการประชุมและทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

1. มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมาท้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

3. วาระที่ 2 ทบทวนนโยบายห้องสมุดสีเขียว

4. วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)

5. วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

6. วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

7. วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมและแนวคิดของผู้บริหารต่อการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

8. จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร รายชื่อผู้เข้าประชุมและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1.4 การตรวจประเมินภายใน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)

1. 4 .1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินภายในด้านห้องสมุด (ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)

1.  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจปะเมินและผู้ตรวจประเมิน ที่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องห้องสมุดสีเขียว

2. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3. มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุดครอบคลุมทุกหมวด

4. กำหนดให้ผู้ตรวจประเมินภายในด้านห้องสมุดแต่ละหมวดมีความเพียงพอและหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน

5. ดำเนินการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ครบถ้วนทุกหมวด

เอกสารการดำเนินงานตามตัวชี้วัด